วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บทที่8

ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัต
              ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ (Automated Storage/Retrieval System  เรียกโดยย่อว่า AS/RS)  คือ การทำงานของระบบการจัดเก็บในคลังสินค้าหรือโกดัง ที่มีการควบคุมด้วยระบบการจัดเก็บวัสดุ การรับวัสดุ รวมทั้งการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ขนถ่าย ที่ทำงานร่วมกับโรงงานและคลังสินค้า ซึ่งสามารถออกแบบการใช้งานให้เหมาะสมกับการทำงานลักษณะต่างๆได้ โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดเก็บและเรียกใช้ของอุปกรณ์ แบบ AS/RS จะพิจารณาจากลักษณะโครงสร้างของหิ้งที่ใช้จัดเก็บ ความเร็วในการเคลื่อนของอุปกรณ์ AS/RS ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ

            ระบบ AS/RS แบ่งออกเป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้
                       - Unit Load AS/RS
                       - Miniload AS/RS
                       - Man-on-Board AS/RS หรือ Manaboard AS/RS
                       - Automated Item Retrieval System
                       - Deep-Lane AS/RS

            องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ AS/RS
                     1. โครงสร้างที่เก็บวัสดุ (Storage Structure)
                     2.  เครื่อง S/R (Storage/Retrieval Machine)
                     3.  หน่วยของการเก็บวัสดุ (Storage Module)
                     4.  สถานีหยิบและฝากวัสดุ (Pickup and Deposit Station)

           อุปกรณ์พิเศษของระบบ AS/RS
                    1. รถเคลื่อนย้ายช่องทางขนส่งวัสดุ (Aisle Transfer Car)
                    2. อุปกรณ์ตรวจสอบถังบรรจุวัสดุว่างเปล่า/เต็ม
                    3. สถานีวัดขนาดโหลด (Sizing Station)
                    4. สถานีบ่งชี้โหลด (Load Identification Station)

           การประยุกต์ใช้ระบบ AS/RS
                   การแยกใช้งานของระบบ AS/RS ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
                           1. จัดเก็บและเรียกคืน Unit Load
                           2. หยิบวัสดุตามสั่ง (Order picking)
                           3. ระบบจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ

          การจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ
                   1.ใช้เก็บชุดของชิ้นงานประกอบ
                   2. สนับสนุนการผลิตแบบ JIT
                   3. ใช้เป็นบัฟเฟอร์สำหรับจัดเก็บวัสดุ
                   4. สามารถใช้งานร่วมกันกับระบบบ่งชี้ชิ้นงานแบบอัตโนมัติ
                   5.ทำให้เกิดการควบคุมและการติดตามวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ
                   6. สนับสนุนการทำให้เกิดการทำงานแบบอัตโนมัติทั้งโรงงาน






บทที่7

สายพานลำเลียง  Belt Conveyor 
       คือ ระบบสายพานลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นวัสดุประเภท PVCPU หรืออาจเป็นวัสดุอื่นๆ ที่เป็นฟู้ดเกรด (Food Grade) เมื่อใช้กับอาหาร, สายพานประเภทนี้จะเป็นที่นิยมใช้งานโดยทั่วไป เนื่องจากใช้ลำเลียงวัตถุได้หลากหลายประเภท รวมทั้งอาหาร พื้นผิวของสายพานจะมีทั้งแบบผิวเรียบ ผิวไม่เรียบ และแบบที่ติดโปรไฟล์กั้นเป็นบล็อคๆ สามารถใช้ลำเลียงได้ทั้งในแนวระนาบ และลาดชัน  

    ระบบโซ่ลำเลียง
       ชุดสายพานโซ่มักจะใช้ขนถ่ายวัสดุที่เป็นก้อน หรือชิ้น ห่อ ส่งได้ทั้งในแนวระนาบและแนวลาดที่รับแรงกระแทกจากโหลดวัสดุได้ดี ใช้งานได้ดีโดยไม่ต้องตรวจตราบ่อย สามารถส่งชันขึ้นได้มากกว่าระบบโซ่แขวนใช้มากกับงานขนถ่ายที่ขนติดต่อกันเรื่อยไปอย่างสม่ำเสมอ ไม่เหมาะกับการขนถ่ายวัสดุปริมาณมวล 
     - สายพานข้อโซ่ (Chain Link Conveyor)
     - สายพานแผ่นโซ่ (Chain Plate Conveyor)
     - สายพานรางกวาด (Chain Flight Conveyor)
     - ระบบโซ่แขวนลำเลียง (Overhead Chain Conveyor)

ระบบสายพานลำเลียง 

     ระบบสายพานลำเลียง ใช้สำหรับขนถ่ายวัสดุปริมาณมวล และวัสดุก้อนโต หรือหีบห่อ ทั้งในแนวราบและแนวลาดเอียง สร้างได้หลายลักษณะ คือ แบบติดตาย-เคลื่อนย้ายที่ได้ หรือสายพานแบบราบ-สายพานแบบแอ่ง มีขีดความสามารถสูง ระยะทางขนถ่ายได้ไกล สร้างได้ง่าย ไม่ต้องการงานบำรุงรักษามากนัก ความสึกหรอต่ำและใช้กำลังขับค่อนข้างต่ำ ข้อจำกัดที่สำคัญได้แก่ความชันลาดขึ้นของสายพาน หากจะต้องขนถ่ายที่ความชันราบถึง 45 องศา จะต้องสร้างผิวสายพานให้มีแผ่นกั้นวัสดุไหล และไม่ควรใช้ขนถ่ายวัสดุที่กำลังร้อน

 ระบบสายพานลำเลียงแบบแผ่นระนาด เป็นระบบที่สามารถรองรับชิ้นงานที่มีน้ำหนักมากและมีจำนวนมาก รวมถึงระบบนี้ยังมีความทนทานสูง เนื่องจากแผ่นระนาดทำด้วยวัสดุอย่างดี และตัวโครงสร้างก็ทำจากเหล็กคุณภาพสูง ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใข้จ่ายในการซ่อมบำรุงบ่อยๆ

      ระบบสายพานลำเลียง   Daifuku สามารถออกแบบการจัดเรียงได้หลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะกับตำแหน่งของการจัดส่งและการผลิต ซึ่งจำนวนและปริมาณจะมีขนาดเล็กลงเพื่อสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายและซับซ้อน ผลิตภัณธ์ของเราไม่ได้พัฒนาเพียงแค่ประสิทธิภาพอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีบริการจัดส่งที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพว่าสินค้าจะไม่ได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ เรายังมีระบบขนส่งที่ตรงตามความต้องการให้อุปกรณ์กึ่งตัวนำมีขนาดเล็กลงและความต้องการแผ่นกระจกที่ใสบริสุทธิ์ ระบบอัตโนมัติสำหรับโรงงานผลิตรถยนต์ในทุก ๆ กระบวนการและระบบสายพานสำหรับการขนถ่ายกระเป๋าสัมภาระที่สนามบิน Daifuku มุ่นมั่นที่จะปรับปรุงโลจิสติกส์ให้ดียิ่งขึ้นโดยการลดระยะเวลาและต้นทุน เราพร้อมนำเสนอสายพานหลากหลายประเภทได้แก่ สายพานโซ่สำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักมาก สายพานแบบล้อหมุนสำหรับกล่อง สายพานสำหรับการรวบรวมและ สายพานลำเลียงแบบเอียง ผลิตภัณธ์ของเราสามารถปรับให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะตัวและความต้องการการติดตั้งตามการทำงานของลูกค้าได้อย่างลงตัว สายพานส่วนต่าง ๆ จะประกอบรวมกันเป็นระบบขนส่งที่ดีที่สุดโดยการผสานรวมกันระหว่างการจัดเก็บแบบอัตโนมัติและอุปกรณ์ทำงานภายในระบบ เช่น อุปกรณ์สำหรับการคัดแยกและหยิบจับ

AGV
    AGV  คือ  รถขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ AGV มีหลายชนิดให้เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานตั้งแต่ การใช้งานแบบลากจูง container ,แบบยก container จนถึงแบบรถยก (Forklift) ในลักษณะต่างๆ โดยมีระบบควบคุมเส้นทางและนำทางการขับเคลื่อน (The Vihicle Navigation & Guidance System) ด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบควบคุมโดยการ ตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้
    รถ AGV แต่ละชนิดรับน้ำหนักได้ต่างกันตั้งแต่ 400-1,200 กิโลกรัม หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท โดยมีความเร็วในการขับเคลื่อน 1.2-1.7 เมตร ต่อวินาที
         รถ AGV ทุกคันจะติดตั้งระบบเลเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ประกันได้ว่ามีระดับความปลอดภัยสูงสุด โดยติดตั้งทั้งด้านหน้าและหลังของตัวรถ และแบ่งการเตือนภัยออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่เตือนภัย( Warning Area)และพื้นที่หยุด (Stopping Area) กล่าวคือ ถ้ามีบุคคลเดินเข้าในเขตพื้นที่เตือนภัย รถ AGV จะลดความเร็วลงจากความเร็วสูงสุด (Maximum Speed) เป็นลักษณะแบบเคลื่อนที่ช้า (Crawling Speed) และถ้าตรวจจับได้ในพื้นที่หยุด รถ AGV จะหยุดทันที โดยระยะทางของพื้นที่เตือนและพื้นที่หยุด จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความเร็วของรถ AGV  ทั้งนี้แบตเตอรี่ที่ใช้เป็นแบบ Maintenace Free สามารถใช้งานได้ติดต่อกันแบบต่อเนื่องนานถึง 8-10 ชั่วโมง โดยไม่ต้องนำแบตเตอรี่ออกจากตัวรถ

     ประโยนช์ของรถ AGV 
    รถ AGV power stacker 1 คัน สามารถขับเคลื่อนโดยไม่ต้องใช้พนักงานขับ จะสามารถประหยัด 
    ค่าแรงคนงาน ได้ดังนี้ (ประมาณการที่ค่าแรงขั้นต่ำ300บาท และค่าสวัสดิการอื่นๆ)
    ถ้าใช้งานAGV 1 กะ:วัน (8ชม.) ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน คน = 10,000 ฿:เดือน หรือ = 120,000฿:ปี 
    ถ้าใช้งานAGV 2 กะ:วัน (16ชม.)ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน คน = 20,000 ฿:เดือน หรือ = 240,000฿:ปี 
    ถ้าใช้งานAGV 3 กะ:วัน (24ชม.) ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน คน = 30,000 ฿:เดือน หรือ = 360,000฿:ปี  
    ในการลงทุนปรับปรุงรถยกให้เป็นรถ AGV ประมาณเบื้องต้นว่า มีค่าใช้จ่ายราว 300,000 ฿ ต่อคัน จะสามารถคืนทุนในเวลา 
    2ปี เดือน ถ้าใช้งาน กะ:วัน
    1ปี เดือน ถ้าใช้งาน กะ:วัน 
    เพียง 10 เดือน ถ้าใช้งาน กะ:วัน 
    ซึ่งถ้าลงทุนใช้รถ AGV หลายคันทางบริษัทก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้อีกเป็นอัตราเพิ่มขึ้นใน กรณีศึกษา ที่มีการใช้คนงาน คน และ รถ Power stacker 3 คัน  หากมีการใช้ AGV power stacker แทน และใช้งานถึง กะ ปริมาณงานที่ได้จาก รถAGV ก็จะเท่ากับ ปริมาณงานของคนงานถึง คน นั่นคือผลกำไรที่ได้คืนมา ประมาณ 90,000 บาทต่อเดือน หรือ 1,080,000 บาทต่อปี  

    พิ่มประสิทธิภาพและปริมาณการทำงาน 
    รถAGV เริ่มงานได้ตรงเวลา ตั้งแต่ โมงเช้า ถึง โมงเย็นโดยไม่ต้องหยุดพัก เข้าห้องน้ำ ทานกาแฟ สูบบุหรี่ หรือ คุยโทรศัพท์ รถAGV ไม่ลาหยุด หรือ ลากิจ ไม่ขาดงานบ่อย งานจะเดินได้สม่ำเสมอ กรณี รถเสียทางบริษัทมีบริการ Service online เป็นบริการที่รวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายน้อย หรือถ้าต้อง มีการ service onsite เราก็สามารถบริการได้รวดเร็ว
    เพราะเป็นช่างในเมืองไทย ไม่ต้องรอจากต่างประเทศ ความคุ้มทุนจึงเกิดจากปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นด้วย

    ลดต้นทุนแฝงด้านความเสียหายที่เกิดจากคนขับ
          ความผิดพลาดจากมนุษย์เป็นเรื่องปรกติ การขับเฉี่ยว ชน เกิดขึ้นจากความประมาท เลินเล่อ ซึ่งจะไม่เกิดขึ้นกับรถAGV เป็นการลดความเสียหายของสินค้าและตัวรถยกเองก็มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น การลงทุนด้าน Automation จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มในระยะยาว ช่วยลดต้นทุนความเสียหาย โดยการควบคุมด้วยโปรแกรมอัตโนมัติ และ อุปกรณ์ป้องกันการเฉี่ยวชนความคุ้มทุนจะมาอยู่ที่ประสิทธิภาพการทำงานที่ ปราศจากอุบัติเหตุ ลดค่าใช้จ่ายการซ่อมแซม

    เพิ่มภาพลักษณ์ที่ทันสมัยให้แก่บริษัท
           เป็น ผลดี ด้านจิตวิทยา ทำให้บริษัทก้าวทันยุค เทียบเท่ากับบริษัทระดับโลก ซึ่งใช้ระบบAutomation  มานานนับทศวรรษแล้ว ในการติดต่อกับลูกค้า โดยเฉพาะบริษัททีมีการติดต่อกับต่างประเทศเจ้าของกิจการจะรู้สึกได้เองว่า คุ้ม ที่ได้ปรับปรุงกิจการให้ทันสมัยขึ้นการ คำนวนนี้ เป็นเพียงการประมาณการ  นักธุรกิจ หรือ นักบริหารที่เปรื่องปราชญ์ อาจจะมองความคุ้มทุนในด้าน automation ได้มากกว่าผุู้เขียนบทความก็เป็นได้



วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บทที่6

หุ่นยนต์พนักงานส่งของ


บทที่5


เครื่องจักร nc cnc Dnc
NC

N   ย่อมาจาก   Numerical  (   นิวเมอร์ริเคล  )  หมายถึง   ตัวเลข   0  ถึง   9    ตัวอักษร หรือโค้ด เช่น
A ,  B , C  ถึง  Z  และสัญลักษณ์อื่น ๆ  เช่น เครื่องหมาย  +  ,  -  และ  %  C  ย่อมาจาก  Control   ( คอนโทรล )  หมายถึง  การควบคุมโดยกำหนดค่า  หรือตำแหน่งจริงที่ต้องการเพื่อให้เครื่องจักรทำงานให้ได้ค่าตามที่กำหนด
ดังนั้น    เอ็นซี  ( NC )  หมายถึง    การควบคุมเครื่องจักรกลด้วยระบบตัวเลขและตัวอักษร  ซึ่งคำจำกัดความนี้ได้จากประเทศสหรัฐอเมริกา  กล่าวคือ  การเคลื่อนที่ต่าง ๆ  ตลอดจนการทำงานอื่น ๆ  ของเครื่องจักรกล  จะถูกควบคุมโดยรหัสคำสั่งที่ประกอบด้วยตัวเลข  ตัวอักษร  และสัญลักษณ์อื่น ๆ  ซึ่งจะถูกแปลงเป็นเคลื่อนสัญญาณ (  Pulse )  ของกระแสไฟฟ้าหรือสัญญาณออกอื่น ๆ  ที่จะไปกระตุ้นมอเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อทำให้เครื่องจักรกลทำงานตามขั้นตอนที่ต้องการ
CNC

พัฒนาการของเครื่องจักร  CNC   มีมากกว่า  40  ปี   ในปี  ค.ศ. 1948  สถาบัน M.I.T ( Massachusetts Instituteof   Technology)   ได้เริ่มนำโครงการพัฒนาเครื่องจักรกลที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ขึ้น  เพื่อที่จะนำไปใช้ ในการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินตามหลักการทางพลศาสตร์ที่มีความซับซ้อน    จากการค้นคว้าวิจัย   ดังกล่าวจึงมีการสร้าง    และผลิตเครื่องจักรกลที่ควบคุมด้วยระบบตัวเลขขึ้น (  NC  Machine )  เพื่อใช้ใน       อุตสาหกรรมโลหะดังนั้นพัฒนาการของเครื่องจักร  CNC  จึงเริ่มจากเครื่องจักร NC  ขึ้นมาก่อน
DNC

Distribution Numerical Control: DNC SYSTEM คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน
          SUPER-DNC SOFTWARE คือ โปรแกรมควบคุมระบบ DNC ที่มีความทันสมัย มีสเถียรภาพและสามารถสื่อสารกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ได้หลากหลายรุ่นและหลายยี่ห้อ ทั้งเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดหรือเครื่องเก่าที่มีอายุใช้งานและถูกสร้างขึ้นมานานนับ 10 ปีแล้วก็ตาม
          SUPER-DNC ทำให้โรงงานไม่ว่าจะเป็นงานผลิตแม่พิมพ์ Mould, DIE, Punch Die หรือ Part Production ก็ตาม สามารถใช้เครื่องจักร และ NC Data ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันมีค่าของโรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โรงงานและองค์กร สร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กรได้เป็นอย่างดี และยังทำให้พนักงานทำงานได้สะดวกขึ้นเป็นการเสริมขวัญและกำลังใจพนักงานให้มีความรักองค์กรและมุ่งมั่นในการสร้างผลงานที่ดีแก่องค์กรอีกด้วย



บทที่4

ข้อดีข้อเสียของเทคโนโลยีฯ

1.ข้อดีของเทคโนโลยีสารสนเทศ 

เทคโนโลยีสารสนเทศมีเป้าหมายกำหนดไว้ดังนี้

1.เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Operation Efficiency)
2.เพิ่มผลผลิต (Function Effectiveness)
3.เพิ่มคุณภาพบริการลูกค้า (Quality Customer Service)
4.ผลิตสินค้าใหม่และขยายผลผลิต (Product Creation and Enhancement)
5.สามารถสร้างทางเลือกเพื่อแข่งขันได้ (Altering the basic of competition)
6.สร้างโอกาสทางธุรกิจ (Identifying and Exploiting Business Opportunities)
7.ดึงดูดลูกค้าและป้องกันคู่แข่ง (Client Lock-In/Competitor Lock-Out)
จาก เป้าหมายทั้ง7ประการของเทคโนโลยีสารสนเทศถ้าสามารถดำเนินการได้ตามเป้หมาย ดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นข้อดีของเทคโนโลยีสารสนเทศระบบนี้ได้ทั้งหมด

2.ข้อเสียของเทคโนโลยีสารสนเทศ


1.วงจร ชีวิตของระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่มีวงจรชีวิตค่อนข้างจำกัด อาจจะอธิบายได้ว่า เนื่องจาการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งสภาพทางเศรษฐกิจและธุรกิจ เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศไปด้วยหรือ การเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริหาร ก็อาจจะต้องเปลี่ยนระบบสารสนเทศไปด้วย
2.ลงทุนสูง เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีราคาแพง และส่วนมากไม่อาจจะนำไปใช้ได้ทันที แต่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเสียก่อนจึงจะใช้ได้อย่างถูกต้องและมี ประสิทธิภาพ
3.ก่อให้เกิดช่องว่าง (Gap) เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดช่องว่างในการรับข่าวสารระหว่างคนจนกับคนรวย
3.ผลกระของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อสังคมมนุษย์

1.การ เปลี่ยนแปลงเรื่องความรู้สึกตลอดเวลา มีคนจำนวนไม่น้อยเกิดความรู้สึกว่าสรรพสิ่งเคลื่อนไหวเร็วขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศทีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
ผลกระทบต่อระบบ เศรษฐกิจ ความก้าวหน้าด้านโทรคมนาคม ทำให้ระบบเศรษฐกิจเป็นจริงขึ้นมา พรมแดนของประเทศกลายเป็นสิ่งไร้ความหมายการบริการด้านการเงินได้รับแรงเสริม ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์อย่างไม่หยุดยั้ง รวมทั้งผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารโดยเฉพาะในสำนักงานทำให้วิธีคิด และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการทำงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง การทำงานไม่จำเป็นต้องอยู่ในสำนักงานตลอดเวลาอีกแล้ว
2.ผลกระทบด้านการ เมืองและการตัดสินใจ เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ละเอียดและปราณีตมากขึ้น ทำให้การตัดสินใจไม่เป็นไปตามค่านิยมแต่จะเป็นการตัดสินใจบนข้อมูลและข้อ เท็จจริงพร้อมทั้งความคิดเห็นที่มีการเก็บรวบรวมและมีวิธีการวิเคราะห์ ประกอบด้วย ส่วนรูปแบบการเมือง จะได้รับผลกระทบคือ ระบบเผด็จการจะลดน้อยลง เนื่องจากไม่สามารถควบคุมข่าวสารได้ ระบบการสื่อสารที่กระจายอำนาจทำให้ประชาชนมีอำนาจมากขึ้นสามารถติดตามการทำ งานของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.การเกิดขึ้นของชุมชน อิเล็กทรอนิกส์ ในอนาคตจะเกิดชุมชนใหม่ที่เรียกว่า “ชุมชนอิเล็กทรอนิกส์” ที่ปรากฏขึ้นเมื่อทุกบ้านมีคอมพิวเตอร์ และกลุ่มที่มีความสนใจเหมือนกันจะติดต่อโดยผ่านบริการของสหกรณ์โทร คอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถจัดการให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ซึ่งกันและกันได้ และข้อมูลที่นำมาแลกเปลี่ยนกันนี้จะถูกบันทึกไว้และจะเรียกกลับมาใช้อีก เมื่อไหร่ก็ได้
4.ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แม้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะไม่ได้เป็นตัวการทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยตรง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าในเทคโนโลยีต่างๆ และเทคโนโลยีเหล่านั้นเองที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นได้ โดยการใช้คอมพิวเตอร์ในการคำนวณหรือจำลองแบบมวลอากาศเพื่อพยากรณ์ทางด้าน อุตุนิยมวิทยา การใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อตรวจสอบการบุกรุกทำลาย ป่าา หรือการใช้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบการแพร่มลพิษในน้ำหรือในอากาศ
5.ผล กระทบด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบในด้านการศึกษามาก การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญ คือ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction-CAI) หรือ เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียน (Computer Assisted Learning-CAL) ซึ่งหมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอนและการเรียนรู้ โดยมีผลทำให้นักเรียน นักศึกษา หรือประชาชนที่อยู่ในที่ห่างไกลสามารถเรียนรู้ได้เช่นเดียวกับคนเมือง นอกจากนี้ยังมีส่วนทำให้อาจารย์มีเวลามากขึ้นที่จะทำการศึกษาวิจัย นำเสนอผลงานใหม่อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ
6.ผลกระทบที่ เกิดขึ้นต่อปัจเจกบุคคล เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเลือกซื้อของ การพักผ่อน การฝาก-ถอนเงิน การรักษาพยาบาล เป็นต้น ซึ่งผลกระทบต่อบุคคลที่สำคัญดังนี้
ผลกระทบที่ มีผลต่อสภาวะจิตใจ การที่สภาพแวดล้อมทีการกระตุ้นมากเกินไป ข่าวสารข้อมูลมีมากเกินไป ทางเลือกต่างๆ มีมาก ทำให้เกิดการตัดสินใจของมนุษย์ด้อยประสิทธิภาพลงเมื่ออยู่ในภาวะที่ ถูกกระตุ้นมากไป
การย้อนกลับไปสู่ศาสตร์ลี้ลับ เนื่องมาจากการสูญเสียอำนาจควบคุมพลังและศาสตร์ต่างๆ ก้าวไปไกลเกินกว่าที่มนุษย์จะควบคุม มนุษย์จึงเลิกสนใจวิทยาศาสตร์แต่หันมาสนใจศาสตร์ลี้ลับต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
7.ความเป็นส่วนตัวลดลง ทั้งนี้เนื่องจากประสิทธิภาพของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นส่วนตัวทุกอย่างของมนุษย์ได้
ผล กระทบต่อวิธีคิดมนุษย์ มนุษย์จะสามารถเก็บข้อมูลมากที่สุดในเวลาอันสั้นแล้วทิ้งไป แต่จะนำเอาข้อมูลเพียงเล็กน้อยมาสรุปรวมกันเป็นทัศนะใหม่ จะไม่รับแนวคิดที่ส่งผ่านมาทั้งกระบวนอีกต่อไป


สรุปความคิดเห็นส่วนตัว
การใช้เทคโนโลยีก็เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกได้ดีในด้านการค้นคว้าหาข้อมูล ด้านการศึกษา และช่วยผ่อนคลายในบางเวลา แต่หากเราใช้มากเกินไปก็จะส่งผลเสียต่อร่างกาย และจิตใจเพราะสื่อก็จะมีข่าวเยอะแยะมากมายทั้งจริงและไม่จริง ส่วนใหญ่จะเป็นข่าวด้านลบ 

วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บทที่3

บทความเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล
1.การสื่อสารไร้สาย (อังกฤษWireless communicationหมายถึงการถ่ายโอนข้อมูลสารสนเทศระหว่างจุดสองจุดหรือมากกว่า โดยไม่ได้เชื่อมต่อกันด้วยตัวนำไฟฟ้า
เทคโนโลยีไร้สายที่พบมากที่สุดใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นคลื่นวิทยุ ซึ่งอาจใช้ในระยะทางสั้นๆไม่กี่เมตรสำหรับโทรทัศน์ หรือไกลเป็นล้านกิโลเมตรลึกเข้าไปในอวกาศสำหรับวิทยุ การสื่อสารไร้สายรวมถึงหลากหลายชนิดของการใช้งานอยู่กับที่เคลื่อนที่และแบบพกพา ได้แก่ วิทยุสองทางโทรศัพท์มือถือผู้ช่วยดิจิตอลส่วนตัว (personal digital assistants หรือ PDAs) และเครือข่ายไร้สาย ตัวอย่างอื่น ๆ ของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวิทยุไร้สายรวมถึง GPS, รีโมตประตูโรงรถ เม้าส์คอมพิวเตอร์ไร้สายแป้นพิมพ์และชุดหูฟังไร้สายหูฟังไร้สายเครื่องรับวิทยุไร้สายโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมไร้สายเครื่องรับโทรทัศน์ทั่วไปและโทรศัพท์บ้านไร้สาย
2.LAN (อังกฤษLocal Area Network หรือ LAN) หรือ ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันทั้งหมดโดยอาศัยสื่อกลาง มีการแบ่งแยกเครือข่ายออกเป็น รูปแบบการเชื่อมโยงคือ การเชื่อมโยงภายในพื้นที่ระยะใกล้หรือ แลน (LAN) และการเชื่อมโยงระยะไกลหรือแวน (WAN) โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบแลน มี รูปแบบ คือ
1.        Bus มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10-100 MB/sจะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียวกัน โดยจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า T-Connector เป็นตัวแปลงสัญญาณข้อมูลเพื่อนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และ Terminator ในการปิดหัวท้ายของสายในระบบเครือข่ายเพื่อดูดซับข้อมูลไม่ให้เกิดการสะท้อนกลับของสัญญาณ
2.        Star เป็นระบบที่มีเป็นการต่อแบบรวมศูนย์ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อสายเข้าไปที่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch โดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch จะทำหน้าที่เปรียบศูนย์กลางที่ทำหน้าที่กระจายข้อมูล โดยข้อดีของการต่อในรูปแบบนี้คือ หากสายสัญญาณเกิดขาดในคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆจะสามารถใช้งานได้ปรกติ แต่หากศูนย์กลางคือ Hub หรือ Switch เกิดเสียจะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้ทั้งระบบ
3.        Ring เป็นระบบที่มีการส่งข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะมีเครื่อง Server หรือ Switch ในการปล่อย Token เพื่อตรวจสอบว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใดต้องการส่งข้อมูลหรือไม่และระหว่างการส่งข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆที่ต้องการส่งข้อมูลจะต้องทำการรอให้ข้อมูลก่อนหน้านั้นถูกส่งให้สำเร็จเสียก่อน
ข้อดีของระบบ LAN
3.WAN หรือ ข่ายงานบริเวณกว้าง (อังกฤษWide area network หรือ WAN) คือ ข่ายงานที่อยู่ห่างไกลกันมาก อาจจะอยู่ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานสาขาย่อยเข้ากับเครือข่ายของสำนักงานใหญ่ที่อยู่ห่างกันไกล อาจจะอยู่กันคนละที่หรือคนละเมืองกัน แต่ติดต่อกันด้วยระบบการสื่อสารทางไกลความเร็วสูง หรือโดยการใช้การส่งสัญญาณ ผ่านดาวเทียมเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อถึงกันได้ ข่ายงานแต่ละข่ายงานจะอยู่ห่างกันประมาณ ไมล์ซึ่งไกลกว่า ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ แลน ที่อาจอยู่ภายในอาคารหรือบริเวณมหาวิทยาลัยเดียวกัน แวนไร้สาย (wireless wide area network) ข่ายงานบริเวณกว้างไร้สาย
ใยแก้วนำแสง หรือ ออปติกไฟเบอร์ หรือ ไฟเบอร์ออปติก เป็นแก้วหรือพลาสติกคุณภาพสูง ยืดหยุ่นโค้งงอได้ เส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 8-10 ไมครอน (10 ไมครอน = 10 ในล้านส่วน
ของเมตร =10x10^-6=0.00001 เมตร = 0.01 มม.) เล็กกว่าเส้นผมที่มีขนาด 40-120 ไมครอนกระดาษ 100 ไมครอน ใยแก้วนำแสงทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งแสงจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ด้วยความเร็วเกือบเท่าแสง เมื่อนำมาใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคม ทำให้สามารถส่ง-รับข้อมูลได้เร็วมาก ได้ระยะทางได้เกิน 100 กม.ในหนึ่งช่วง และเนื่องจากแสงเป็นตัวนำส่งข้อมูล ทำให้สัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าภายนอก ไม่สามารถรบกวนความชัดเจนของข้อมูลได้ ใยแก้วนำแสงจึงถูกนำมาใช้แทนตัวกลางอื่นๆในการส่งข้อมูล
4. เครือข่ายแบบดาว (Star Network)   เป็นวิธีการที่นิยมใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเข้ากับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Host Computer) ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องศูนย์กลาง และต่อสายไปยังคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลตามจุดต่างๆ แต่ละจุดเปรียบได้กับแต่ละแฉกของดาวนั่นเอง
ในการต่อแบบนี้ คอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะถูกต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางโดยตรง จึงไม่มีปัญหาการแย่ง การใช้สายสื่อสาร จึงทำให้มีการตอบสนอง
ที่รวดเร็วการส่งข้อมูลแต่ละสถานี (เครื่องคอมพิวเตอร์ย่อยๆ) ก็จะส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางก่อนแล้วตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางนี้จะเป็นผู้ส่งไป
ยังสถานีอื่นๆ การควบคุมการรับส่งภายในระบบทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางดังนั้นถ้าเครื่องศูนย์กลางมีปัญหาขัดข้องก็จะทำให้
ระบบทั้งระบบต้องหยุดชะงักทันที
  5. เครือข่ายแบบวงแหวน (ring topology) 
เป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดเช่นเดียวกับแบบดาว โดยสถานีแต่ละสถานีจะต่อกับสถานีที่อยู่ติดทั้งสองข้างของตนเอง  และทุกสถานีมีเครื่องขยายสัญญาณของตัวเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของแต่ละสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน  สัญญาณข้อมูลจะส่งอยู่ในวงแหวนแบบจุดต่อจุดไปในทิศทางเดียวกันจนถึงผู้รับภายในเวลาที่กำหนด โดยเครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้า  และส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด  เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป  อีกทั้งสามารถตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งด้วยโดยกรณีที่เครื่องรับปลายทางไม่ได้รับสัญญาณข้อมูลในเวลาที่กำหนด จะมีการแจ้งว่าเกิดความผิดพลาดในเครือข่ายได้  ข้อดีคือ ใช้สายเคเบิลน้อย และสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้ ทำให้ไม่มีผลต่อระบบเครือข่าย ข้อเสียคือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงานได้เลย และการเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน


 6.ระบบ 3G คืออะไร

คำตอบ เราคงเคยได้ยินคำว่า 3G มากันสักระยะหนึ่งแล้ว แต่หลายคนยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าระบบ 3G ที่ได้ยินกันบ่อยๆนั้น คือ ระบบอะไร ดังนั้น ก่อนที่เราจะกล่าวถึงปัญหาของระบบ 3G ในประเทศไทย เรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า ระบบ 3G หมายความว่าอย่างไร กล่าวคือ ระบบ 3G คือ ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่สาม (Third Generation of Mobile Telephone – 3G) ซึ่งมี สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU (International Telecommunication Union) ซึ่งเป็นองค์กรชำนาญพิเศษแห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำตลอดจนวางหลักเกณฑ์ในบริหาร และการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมให้กับประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิกทั่วโลก โดยมีแนวทางในการวางหลักเกณฑ์ทางการบริหารทรัพยากรด้านโทรคมนาคมของแต่ละประเทศสมาชิก เพื่อให้เป็นไปแนวทางเดียวกัน
 7.Bus 
มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10-100 MB/sจะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียวกัน โดยจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า T-Connector เป็นตัวแปลงสัญญาณข้อมูลเพื่อนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และ Terminator ในการปิดหัวท้ายของสายในระบบเครือข่ายเพื่อดูดซับข้อมูลไม่ให้เกิดการสะท้อนกลับของสัญญาณ
 8.1G เริ่มตั้งแต่ 1G … ซึ่งเป็นยุคที่ใช้ระบบ Analog คือใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆทั้งสิ้นซึ่งนั่นก็หมายความว่าสามารถใช้งานทางด้าน Voice ได้อย่างเดียว คือ โทรออก-รับสาย เท่านั้น ไม่มีการรองรับการใช้งานด้าน Data ใดๆ ทั้งสิ้น แม้แต่การรับ-ส่ง SMS ก็ยังทำไม่ได้ในยุค 1G แต่จริงๆแล้ว … ในยุคนั้น ผู้บริโภคก็ยังไม่มีความต้องการในการใช้งานอื่นๆ นอกจากเสียง (Voice) อยู่แล้ว โดยปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือยังอยู่ในขอบเขตที่จำกัดมาก และจะพบว่าผู้ใช้มักจะเป็นนักธุรกิจที่มีรายได้สูงเสียส่วนใหญ่
9.   2G หลังจากนั้น ก็ได้พัฒนาต่อมาเป็นยุค 2G … ซึ่งเปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุแบบ Analog มาเป็นการเข้ารหัส Digital ส่งทางคลื่น Microwave ซึ่งในยุคนี้เอง เป็นยุคที่เริ่มทำให้เราเริ่มที่จะสามารถใช้งานทางด้าน Data ได้ นอกเหนือจากการใช้งาน Voice เพียงอย่างเดียว ในยุค 2G นี้ … เราสามารถ รับ-ส่งข้อมูลต่างๆและติดต่อเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐาน หรือที่เรียกว่า cell site
และก่อให้เกิดระบบ GSM (Global System for Mobilization) ซึ่งทำให้เราสามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า Roaming ยุค 2G นี้ ถือเป็นยุคเริ่มต้นแห่งการเฟื่องฟูของโทรศัพท์มือถือเลย … ราคาของโทรศัพท์มือถือเริ่มต่ำลง (กว่ายุค 1G) ทำให้ปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีมากขึ้น ซึ่งการส่งข้อมูลของยุค 2G นี้ เป็นยุคที่มีการเริ่มฮิต Download Ringtone , Wallpaper , Graphic ต่างๆ แต่ก็จะจำกัดอยู่ที่การ Downlaod Ringtone แบบ Monotone และ ภาพ Graphic ต่างๆก็เป็นเพียงแค่ภาพขาว-ดำที่มีความละเอียดต่ำเท่านั้น
10.ระบบ 4G จะให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงถึง 1Gbps (1,000Mbps) ทำให้อุปกรณ์พกพาทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือแบบ Smartphone, tablet หรือ notebook computer สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ทด้วยความเร็วสูงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
ข้อดี
        1.ลดเวลาในการทำงานลง
        2.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
        3.ในความบันเทิงแก่ผู้ใช้งาน
        4.ใช้ค้นหาความรู้ได้
        5.ใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน
    ข้อเสีย
        1.ทำให้เกิดขยะของเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น
        2.ทำให้ไม่เกิดการออกกำลังกาย
        3.ทำให้มีการหลอกลวงเพิ่มขึ้น
        4.การใช้งานมากๆทำให้ลืมเทคโนโลยีสมัยเก่าลง
        5.มีการเปลี่ยนเทคโนโลยีไปมากทำให้ตามไม่ทัน